

About Us
“สิ่งที่นายเผด็จยึดเป็นบรรทัดฐานมาโดยตลอดก็คือความเป็นกันเอง และตรงต่อเวลาซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ตรึงใจลูกค้าไม่ให้ตีจาก”
นับวันผลงานอันมีค่ายิ่งทางด้านศิลปหัตถกรรมจะเสื่อมถอยลงไปทุกขณะ ขณะ เหตุผลหนึ่งมาจากงานแขนงนี้จักต้องอาศัยความชำนาญและความประณีตเฉพาะตน ทว่าผู้มีความช่ำชองทางด้านนี้ส่วนหนึ่งกลับหักเหไปประกอบอาชีพอื่นหรือไม่ก็สิ้น อายุขัยไปโดยไม่มีการถ่ายโอนความรู้มาสู่ชนรุ่นหลังอื่นเหตุผลหนึ่ง เนื่องจากวัตถุดิบ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักในการสร้างงานก็เริ่มร่อยหรอลงไปทุกที และหากปล่อยสถานการณ์ให้เป็นเช่นนี้ต่อไปแล้ว งานอัน ทรงคุณค่าเหล่านี้อาจกลายเป็นศิลปะทางโบราณคดีในอีกไม่กี่ยุคข้างหน้าก็เป็นไปได้ ร้านนายเหมือน เป็นร้านหนึ่งที่ยังคงอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ไว้อย่างคงเส้นคงวามาตลอดในหลายอายุคนที่ผ่านมาและนับเนื่อง จนถึงวันนี้กิจการนี้ได้ถูกผ่องถ่ายมาอยู่ในความดูแลของนายเผด็จ มนตรีวัต ผู้มีดีกรีเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา หากแต่กลับพลิกวิถีชีวิต
อ่านต่อคลิกที่นี่ตนเองเพื่อรังสรรค์งานศิลปหัตถกรรมให้สืบทอดต่อมาอีกยุคหนึ่ง “คำว่าร้านนายเหมือนนั้น เป็นชื่อของคุณพ่อยายผม เมื่อผมเรียนจบก็กลับมารับงานต่อเพราะเห็นว่าท้าทายดี กอปรกับมีชื่อเสียงดีอยู่ แล้ว ถ้าสานต่อก็คงไม่ยากนัก และอีกอย่างอยากให้ชื่อนี้อยู่ต่อไปด้วย จึงตัดสินใจกลับมาทำงานที่เป็นของตนเองดีกว่า” นายเผด็จแจงที่ มาร้านนายเหมือนแต่แรกเริ่มเป็นร้านที่ผลิตและขายงานหัตถกรรมที่เกี่ยวกับหวายโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีการนำช่างใหม่เข้ามาฝึกงานอยู่เป็น นิตย์ และช่างที่สามารถสร้างานอย่างมีคุณภาพตกไม่น้อยกว่าร้อยคน แต่ต่อมาเนื่องจากเศรษฐกิจไม่คงที่ ร้านนายเหมือนจึงได้ปรับ ธุรกิจเป็นประเภทซื้อมา ขายไป ส่วนช่างที่มีแต่เดิมได้กลายเป็นเครือข่ายแหล่งผลิตที่ส่งสินค้าให้กับร้านมาถึงทุกวันนี้ “เมื่อช่างเหล่านี้มีวิชาชีพก็สามารถออกไปหากินได้อิสระขึ้น แต่เข้าก็ยังทำงานที่ถนัดส่งมาให้ร้านอย่างสม่ำเสมอและอาจเป็นเพราะความ ที่เคยเลี้ยงดูและให้วิชาชีพกันมาก่อน ทำให้เขาสร้างงานที่มีคุณภาพให้กับร้านอยู่เสมอมา ส่วนเรื่องราคาก็ให้ตามที่เข้าต้องการ เพราะเขารู้ หลักการของร้านดี” ฉะนั้นเมื่อธุรกิจกลายเป็นลักษณะการซื้อมาขายไป แรงงานจึงไม่มีความจำเป็นมากนัก หากแต่ต้องมีส่วนหนึ่งกันไว้สำหรับการให้บริการ ลูกค้าและซ่อมแซมสินค้า ปัจจุบันร้านนายเหมือนมีช่างทาสีและช่างซ่อมรวม4คนด้วยกัน งานหัตถกรรมแม้จะมีหลากหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ของชำร่วยเล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงงานชิ้นใหญ่อาทิด เครื่องจักสานประเภทต่างๆของ เด็กเล่น เครื่องประดับบ้านเก้าอี้ ตู้เตียง ฯลฯ หากแต่ยังยืนพื้นวัสดุที่ทำจากหวายเป็นหลัก ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า”เราต้องการอนุรักษ์ความเป็น เอกลักษณ์จากงานหวายให้สืบเนื่องและยาวนาน เงินทุนการก่อตั้งสำหรับผุ้คิดจะริเริ่มธุรกิจนี้เขาแนะนำว่า”หากมาเริ่มต้นในสมัยนี้จะต้องมีทุนรอนไม่ต่ำว่า 5ล้านบาทจึงจะสามารถเริ่มได้” นอกจากจะนำมาสาน ถักให้เป็นเครื่องใช้ต่างๆ ตั้งแต่ชิ้นใหญ่ อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ จนมาถึงชิ้นเล็กๆที่เป็นของเด็กเล่นสมัยคุณพ่อคุณ แม่ยังเป็นเด็ก อาทิ สามแพรก กระจาด ฯลฯ ซึ่งบางอย่างก็สูญหายไปเพราะค่านิยมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่ด้วยเสน่ห์ของงานหวายที่ ต้องใช้ฝีมือในการสานที่ละเอียดอ่อนและประณีต หวายจึงคงเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือนเครื่องใช้นับตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ร้านนายเหมือน เป็นร้านค้าเครื่องหวายที่รู้จักกันดีในย่านเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครซึ่งปัจจุบันเรือนจำแหน่งนี้ถูกรื้อถอนและ ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นสวนสาธารณะตั้งแต่เมื่อปลายปี2537ที่ผ่านมา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า”สวนรมณียนาถ” ตามหลักฐานที่มีการบันทึกไว้ได้กล่าวว่า ร้านนายเหมือนเริ่มทำกิจการค้าเครื่องหวายมานับตั้งแต่เริ่มจนปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 100ปีแล้ว และตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯเดลิเมล์ ฉบับวันจันทร์ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 ได้บันทึกไว้ว่า”ร้านนายเหมือนแต่ เดิมตั้งอยู่บนถนนมหาไชย โดยเริ่มกิจการจากการเช่าห้องแถวเล็กๆซึ่งเป็นที่หน้าวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาซึ่งอยู่ติด กับกองมหันตโทษ แล้วรับของจากคุก เช่น เครื่องจักสานเล็กๆน้อยๆมาขาย จากนั้นได้ซื้อที่ดินของผู้ดีเก่าซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไว้ได้” และที่ดังกล่าวก็คือที่ตั้งของร้านนายเหมือน ถนนมหาไชย เขตสำราษฎร์ ในปัจจุบัน สาเหตุที่ร้านนายเหมือนเป็นที่รู้จักกันดีในย่านนั้น เนื่องมาจากการนำเฟอร์นิเจอร์จากกรมราชทัณฑ์ ซึ่งนับว่าเป็นงานช่างที่มีฝีมือและมี ความประณีตมาจำหน่ายสู่สายตาประชาชนภายนอกเป็นร้านแรก เมื่อมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้นจึงได้เริ่มว่าจ้างคนงานมาช่วยสานหวายเพื่อ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ต่อมาได้ผลิตสินค้ามากมายหลายรูปแบบเพิ่มขึ้น และจำหน่ายเป็นของตนเองโดย ไม่ได้รับมาจากกรมราชทัณฑ์อีก ปัจจุบันร้านนายเหมือนก็ยังคงเป็นร้านเครื่องหวายที่ใหญ่ที่สุดในย่านเขตสำราญราษฎร์ โดยมีผู้บริหารงานที่สืบทอดกิจการนี้ คือ คุณสมศรี มนตรีวัต ผู้เป็นหลานและคุณเผด็จ ควรแสวง ผู้เป็นทายาทรุ่นเหลนของนายเหมือน เป็นผู้ดูแลซึ่งคุณเผด็จได้กล่าวถึงความ เป็นมาของการดำเนินกิจการของร้านในรุ่นหลังว่า “ช่วงที่ร้านเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากที่สุดก็คือช่วงที่คุณยาย (หลานสาวนายเหมือน) ดำเนินงาน คือเมื่อประมาณ30ปีที่แล้ว เขาเล่าต่อกันมาว่า เมื่อก่อนนี้เรามีช่างที่ทำงานอยู่ที่ร้านประมาณสิบกว่าคน พอหลังจากนั้นก็มี ปัญหาเรื่องค่าแรง ทางร้านไม่สามารถว่าจ้างช่างในราคาสูงได้ จึงต้องปล่อยให้พวกเข้ากลับบ้านไป โดยรับงานของร้านไปทำในลักษณะ เหมา ซึ่งช่างที่มีฝีมือส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านแถบชานเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียง เช่น อยุธยา ราชบุรี ฯลฯ บางครั้งเราจะจัดสรรเงินให้ ช่างเหล่านี้ไปลงทุนในการหาซื้อหวายและอุปกรณ์ต่างๆด้วยตนเอง เพราะช่างแต่ละคนจะมีความสามารถในการเลือกวัสดุที่นำมาใช้ได้อย่าง มีคุณภาพเมื่อเขาทำเสร็จก็จะเอามาส่งที่เรา ก็เป็นลักษณะนี้มาตลอดส่วนเรื่องแบบ ทางร้านจะเป็นคนกำหนดให้” จนเมื่อเริ่มขายดีจึงต้องขยายกิจการ โดยย้ายจากห้องแถวที่เช่าอยู่เดิมมาเปิดกิจการในที่ซึ่งซื้อไว้ใกล้กลับเรือนจำและได้มีการรวบรวม ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านที่อยู่ในแถบชานเมืองเข้ามาจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งมีทั้งกระจาด กระบุง หีบใส่เสื้อผ้า ตู้เตียงและของที่ระลึกเล็กๆที่ทำ จากหวาย ไม้แกะไม้กลึง และผลิตภัณฑ์ที่สานจากผักตบชวา จนมาในระยะหลัง รัฐบาลได้มีคำสั่งให้ปิดป่า ซึ่งส่งผลกระทบถึงการตัดหวายด้วย ทางร้านจึงต้องสั่งหวายจากต่างประเทศ เช่น อินโดนิเซีย พม่า ลาว ฯลฯ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ช่างที่เคยสานหวายจึงพากันเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น เนื่องจากสู้ราคาต้นทุน ไม่ไหว ธุรกิจการค้าหวายจึงเริ่มซบเซาลง ทว่าร้านนายเหมือนก็ยังคงผลิตสินค้าที่ทำจากหวายเรื่อยมา แม้ว่าราคาต่อชิ้นจะสูงขึ้น แต่ลูกค้าก็ยังเชื่อใจในฝีมือที่ยากจะหาแหล่งอื่นทำได้ดีเท่า “ลูกค้าที่มาซื้อกับเราตั้งแต่สมัยคุณยาย บางรายก็ยังแวะเวียนมาซื้อกันอยู่ บางรายก็เอาของเก่ามาให้เราซ่อม ซึ่งเราก็บริการในส่วนนี้ ด้วย เท่าที่ผมจำความได้ เฟอร์นิเจอร์ที่นี่บางชิ้นมีไม่กี่ตัว ถ้าขายหมดแล้วก็เป็นอันว่าไม่มีอีก ลูกค้าที่ซื้อไปก็จะเอามาให้ซ่อมอยู่เสมอ ด้วยความเสียดาย เพราะถ้าทำใหม่ ฝีมือของช่างแต่ละที่ก็จะไม่เหมือนกัน” เครื่องใช้ที่เป็นของหายากรุ่นเก่าทางร้านยังคงผลิตอยู่บ้าง เพื่อเป็นการสือทอดต่อมา เช่น ตะแกรงคั้นกะทิ เก้าอี้ม้าโยกสำหรับเด็ก กระบุงใส่ของ และไม้นวดต่างๆที่ผลิตจากไม้ แต่ในส่วนของงานเฟอร์นิเจอร์นั้นได้ทำรูปแบบใหม่ขึ้นเพื่อให้เข้ากับความต้องการของตลาด ปัจจุบัน โดยมีคุณเผด็จเป็นผู้เขียนแบบ และส่งต่อให้ช่างเป็นผู้ผลิต “เราเริ่มเล็งเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์หวายยังคงเป็นงานที่ลูกค้ายังต้องการ อยู่มาก ผมจึงเริ่มศึกษาและออกแบบเฟอร์นิเจอร์หวายให้ดุทันสมัยขึ้น เดือนๆหนึ่งผมจะออกแบบใหม่ๆประมาณ 2-3 ชิ้น แต่ทางร้านจะ ไม่เน้นเรื่องการส่งออกเพราะต้นทุนบ้านเราราคาแพงกว่าประเทศใกล้เคียง ซึ่งตอนนี้ทางร้านก็ได้พัฒนาไปจนถึงขั้นการจัดบริการลูกค้า อย่างครบวงจร คือ เรารับออกแบบตกแต่งภายในตามความต้องการของลูกค้าด้วยเฟอร์นิเจอร์และเครื่องหวายทั้งห้อง ซึ่งตั้งแต่เริ่ม ทำมากิจการก็ไปได้ดี เพียงแต่งานจะต้องใช้เวลานาน ซึ่งส่วนนี้ผมว่ามีผลดีในเรื่องของการส่งเสริมงานฝีมือของคนไทยไม่ให้สูญหายไป ในตัวด้วย” ความเป็นมาของร้านนายเหมือนในการที่พยายามอนุรักษ์งานฝีมือช่างที่ได้ต่อสู้ฝ่าฟันกับกระแสขึ้นลงทางธุรกิจมาจนสามารถเปิด ดำเนินการมาได้จนถึงปัจจุบัน ไม่มีตัวอย่างให้เห็นมากนักในสังคมไทย ถึงแม้ในช่วงที่กิจการดำเนินไปด้วยความราบรื่น เจ้าของร้านก็ ไม่ได้คิดว่าจะต้องเปลี่ยนไปทำกิจการอื่นที่ได้กำไรและผลประโยชน์มากกว่าการนั่งสานหวายด้วยค่าแรงที่น้อยนิด หากเพียงเพราะมีใจรัก และเห็นถึงความสำคัญของร้านที่เป็นเสมือนหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ในย่านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯถ้าเคยได้ยินคนรุ่นเก่าๆ เอ่ยถึงร้านเครื่องหวายข้างคุก นั่นคือ ร้านนายเหมือน ที่คนทั่วไปเรียกกันจนติดปากมาจนรุ่นปัจจุบันนั่นเอง